วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

ท่องเที่ยวภาคเหนือ





วัดพระนั่งดิน อยู่ที่บ้านพระนั่งดิน หมู่ที่ 7 ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา เป็นวัดที่มีความสำคัญ เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวเชียงคำและพื้นที่ใกล้เคียง และถือเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองอำเภอเชียงคำมาช้านาน ภายในอุโบสถมีการตกแต่งประดับประดาด้วยตุง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ ศิลปะของชาวเหนือ และเป็นที่ประดิษฐานองค์พระประธาน ซึ่งมีความแปลกแตกต่างจากพระพุทธรูปโดยทั่วไป ด้วยไม่มีฐานชุกชีรองรับ พระพุทธรูปจึงนั่งอยู่บนพื้น ชาวบ้านเคยสร้างฐานชุกชีและอัญเชิญองค์พระพุทธรูปขึ้นประดิษฐาน แต่ปรากฏว่ายกไม่ขึ้น จนถึงปัจจุบันนี้ จึง เรียกขานนามสืบต่อกันมาว่า พระนั่งดิน หรือพระเจ้านั่งดิน


 
วัดร่องขุ่น ประวัติวัดร่องขุ่น วัดร่องขุ่น เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2540 โดยท่านอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ จิตรกรชั้นแนวหน้าของไทย ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างมาจาก3 สิ่งต่อไปนี้คือ1. ชาติ : ด้วยความรักบ้านเมือง รักงานศิลป์ จึงหวังสร้างงานศิลปะที่ยิ่งใหญ่ไว้เป็นสมบัติของแผ่นดิน2....
การเดินทางไปวัดร่องขุ่น ถ้ามาจากกรุงเทพฯ ใช้ถนนสายเชียงราย กรุงเทพฯ ผ่าน จ.พะเยา ผ่าน อ.แม่ใจ จ.พะเยา เข้า อ.พาน จ.เชียงราย ขับรถมุ่งหน้าไปทาง จ.เชียงรายเรื่อยๆ พอออกจากตัว อ.พาน จะข้ามสพานแม่ลาว (แม่น้ำลาว) ขับรถไปซักพักจะถึงแยกปากทางแม่สรวย (แยกไป อ.แม่สรวย และไป จ.เชียงใหม่)...
กว๊านพะเยา อยู่ในเขตอำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา เป็นทะเลสาบน้ำจืดใหญ่เป็นอันดับ 1 ในภาคเหนือ และ อันดับ 3 ของประเทศไทย (รองจาก หนองหาน และ บึงบอระเพ็ด) [1] คำว่า "กว๊าน" ตามภาษาพื้นเมืองหมายถึง "บึง" เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติอยู่ใจกลางเมืองพะเยา มีทิวเขาเป็นฉากหลัง เกิดจากน้ำที่ไหลมาจากห้วยต่างๆ 18 สาย มีปริมาณน้ำเฉลี่ยปีละ 29.40 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพันธ์ปลาน้ำจืดกว่า 48 ชนิด มีเนื้อที่ 12,831 ไร่ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาต่างๆ ทัศนียภาพโดยรอบกว๊านพะเยา มีส่วน ทำให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ ที่สวยงามประทับใจผู้พบเห็น จนอาจจะกล่าวได้ว่าหัวใจของเมืองพะเยาอยู่ที่กว๊านพะเยานี่เอง
ริมกว๊านพะเยาเป็นร้านอาหารและสวนสาธารณะให้ประชาชนพักผ่อนหย่อนใจ กว๊านพะเยาในอดีตแต่เดิมเคยเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำมีสายน้ำอิงไหลพาดผ่านคดเคี้ยวทอดเป็นแนวยาวไปตลอด จากทิศเหนือจรดขอบกว๊านฯ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประกอบกับมีหนองน้ำน้อยใหญ่หลายแห่งและร่องน้ำหลายสายที่ไหลลงมาจากขุนเขาดอยหลวงแล้วเชื่อมติดต่อถึงกัน ทำให้พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำแห่งนี้จึงมีความอุดมสมบูรณ์ยิ่งนักและมีผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่เป็นชุมชนนานนับตั้งแต่โบราณ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น